Skip to main content

Query สูตรท่าไม้ตายของ Google Sheets

Query สูตรท่าไม้ตายของ Google Sheets

สำหรับคนที่พึ่งเริ่มใช้ Google Sheets มาได้ซักระยะหนึ่ง อาจจะเริ่มเห็นข้อดีของมันในส่วนของการทำงานร่วมกันแบบ real-time และไม่ต้องกังวลว่าข้อมูลจะหายไปเพราะลืมกด save 

สำหรับผู้เขียนนั้น ข้อดีของ Google Sheets ที่เห็นได้ชัดเลยคือสูตรในการสรุปข้อมูลที่ง่ายและทรงพลังกว่า หนึ่งในนั้นคือสูตร "Query" ที่ทำให้เราสามารถเขียนสูตรแบบภาษา SQL ที่ใช้อย่างแพร่หลายในวงการ Data Science 

Set up

นี่คือหน้าตาของข้อมูลที่เราจะมาลองเล่นกันนะครับ เป็นข้อมูลนักกีฬาอาชีพที่ทำรายได้สูงสุดในปี 2018
ถ้าสนใจลองทำไปด้วยสามารถโหลดข้อมูลได้จาก Link นี้เลยครับ




1. เราจะมาตั้งชื่อให้ข้อมูลในตารางนี้ก่อนเพื่อให้ง่ายในการใช้สูตร โดยเลือกข้อมูลทั้งหมด (ctrl-a) แล้วกดไปที่แถบ Data ข้างบนเพื่อเลือก Named Range



2. ตั้งชื่อข้อมูลในแถบด้านขวา ตั้งอะไรก็ได้ที่ง่ายในการจำและพิมพ์เลยครับ


3. ตอนนี้เราก็พร้อมเริ่มใช้สูตร query ได้เลย โดยจะเขียนอยู่ในรูปแบบคล้ายๆกับ SQL ซึ่งเลข 1 เป็นตัวบอกว่าเราจะเอาชื่อแถวมาด้วยมั้ย

=QUERY(sports,"เติม SQL code ตรงนี้",1)

เลือกข้อมูลทั้งหมดด้วย SELECT *

=QUERY(sports,"select *",1)
4. SELECT * จะดึงข้อมูลทั้งหมดของเราออกมาให้ดู ยินดีด้วยคุณได้เขียน function Query สำเร็จแล้ว 

เลือกข้อมูลบางแถวโดยใส่ตัวอักษรหัวแถวเข้าไป

=QUERY(sports,"select C,F",1)

WHERE clause
5. การเพิ่ม WHERE  จะเพิ่ม condition ทำให้เราสามารถเลือกเฉพาะข้อมูลที่เราอยากได้ ในตัวอย่างนี้เราอยากได้นักกีฬาที่มีรายได้มากกว่า 10 ล้านเหรียญเท่านั้น

=QUERY(sports,"select C,F where F>10",1)

ORDER BY clause
6. ถ้าเราอยากให้ข้อมูลเรียงลำดับออกมาให้ เพิ่ม "order by" เข้าไป โดยจำเป็นที่จะต้องใส่ asc หรือ desc เพื่อเลือกให้มันเรียงจากน้อยไปมากหรือมากไปน้อย


7. เพิ่ม limit เพื่อเอาแค่นักกีฬาที่ได้ค่า endorsement มากที่สุด

Aggregation functions
8. เราสามารถใช้ฟังชั่นการคำนวณ เช่น count, sum, avg, min, max ได้เพื่อสรุปข้อมูลอย่างรวดเร็ว


9. GROUP BY ใช้คู่กับฟังชั่นการคำนวณเพื่อสรุปข้อมูลในกรุ้ปที่เราต้องการ มีคอนเซ็ปคล้ายๆกับ pivot table เหมือนในตัวอย่างนี้เราสามารถสรุปได้อย่างรวดเร็วว่ากีฬาประเภทไหนมีนักกีฬาที่ติดอันดับรายได้สูงสุดและมีรายได้รวมเท่าไหร่

10. ชื่อหัวแถวมันดูไม่ค่อยสื่อความหมายเท่าไหร่ LABEL ก็จะช่วยปรับชื่อให้เราได้ โดยเพิ่มเข้าไปในตำแหน่งหลังสุด



หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ในการช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้นนะครับ 

ฝากความคิดเห็นและคำถามได้ที่ comment เลยครับ

Comments

  1. JackpotCity Casino Resort - Mapyro
    Discover all the information and information you need to know about 속초 출장샵 JackpotCity Casino Resort. 광주 출장샵 It's 구미 출장샵 the only casino in the Bay Area with 춘천 출장안마 over 100000 games 사천 출장마사지 on hand.

    ReplyDelete

Post a Comment

Popular posts from this blog

สร้าง Dropdown Menu เพื่อทำ Dynamic Chart

สร้าง Dropdown Menu เพื่อทำ Dynamic Chart ในบทความนี้เราจะมาดูวิธีการสร้างกราฟที่สามารถเปลี่ยนไปตามตัวเลือกของ Dropdown ที่เราสร้างขึ้นมาเพื่อหา insights ในมุมมองต่างๆ Interactivity หรือ ความสามารถในการโต้ตอบกับข้อมูลได้เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้าง Dashboard ที่ผู้ใช้สามารถลงไปดูข้อมูลในจุดที่อยากดูได้อย่างรวดเร็ว การมี Dropdown List ยังจะช่วยประหยัดพื้นที่ในการแสดงผลอีกด้วย 1.การสร้าง Dropdown List เราจะใช้ข้อมูลนักกีฬาที่ทำเงินมากที่สุดมาเป็นตัวอย่างนะครับ สามารถเข้าไปดูได้ใน Link วิธีการสร้าง Dropdown list ให้เราเลือก Data ในแถบข้างบน แล้วกดไปที่ Data Validation หลังจากนั้นให้เลือกข้อมูลที่เราอยากจะใช้เป็นตัวเลือก ในกรณีนี้เราจะเลือกชื่อนักกีฬาในแถว C เมื่อเลือกเสร็จก็กด Done 2.ใช้ vlookup ในการดึงข้อมูลแบบ Dynamic Copy หัวแถวจากข้อมูลของเรา แล้วใช้สุตร VLOOKUP ในการไปดึงข้อมูลรายได้ตามชื่อของนักกีฬาที่เรากดเปลี่ยน  3.การสร้าง Dynamic Chart ให้กดไปที่ insert แล้วเลือก Chart ในตัวอย่างนี้ผมจะเลือกเป็น pie chart เพื่อดูสัดส่วนรายได้ของค่าเหนื่

7 Shortcuts การใช้สูตร Google Sheets

7 Shortcuts การใช้สูตร GSheets เทคนิคการใช้สูตรใน Google Sheets นั้นมี shortcut ที่น่าสนใจมากมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ใช้มือใหม่จำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานทั้งในด้านความเร็วและการตรวจสอบความถูกต้อง วันนี้ผู้เขียนได้คัดเลือกมา 7 ข้อที่คิดว่าได้ใช้จริงในงานบ่อยที่สุดตามนี้เลยครับ 1. ล็อคช่องด้วย F4  หนึ่งในคีย์ลัดที่ช่วยประหยัดเวลาในการล็อคแถวเพื่อใช้ในการลากสูตร แค่กด F4 เพื่อเลือกการล็อคที่เราอยากได้ก็เสร็จเรียบร้อย 2. เข้าถึงสูตรด้วย F2 เคยมั้ยเวลาที่ต้องการ copy สูตรหรืออยากเข้าไปเช็คความถูกต้องของสูตร ปุ่ม F2 จะช่วยทำให้คุณเข้าถึงสูตรได้เร็วขึ้น  นอกจากนี้ยังสามารถพาคุณไปยัง tab ที่เป็นส่วนประกอบของสูตรได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย เพียงแค่เลือกไปตรงส่วนที่อยากดูแล้วกด F2 อีกทีนึง    3. Esc เพื่อออก เวลาที่เราเผลอแก้สูตรผิดไป ปุ่ม Esc (Escape) ตามชื่อของมันจะช่วยพาเราย้อนกลับไปเป็นสูตรเดิมได้โดยหายห่วง 4. เดินทางหน้า/หลังสูตร เวลาเราพิมพ์สูตรยาวๆ แล้วอยากกลับไปข้างหน้าของสูตร (หลัง =) ให้ใช้ปุ่ม ลูกศรขึ้น  และไปหลังสุดด้วย ลูกศรลง   5. ตัวช